ทำไมอเมริกาถึงพิมพ์ดอลล่าได้เอง (ตอนที่ 2)

ผมวางเรื่องบ้านๆ แล้วมาต่อเรื่องเงินๆ ทองๆ กันซักหน่อยครับ

…….

จากคนผิวดำ ซึ่งเคยเป็นกรรมกร บัดนี้ได้เลื่อนขั้นกลายเป็นเจ้าของที่ดิน จำเป็นต้องมาบริหารdollar_stack_big

จากคนผิวขาวที่เคยบริหารกลับสูญสิ้นทุกอย่างที่เคยเป็นของตัวเอง จำเป็นต้องรับสภาพ กรรมกร !

เหมือนใช้คนไม่ถูกกับประเภทงาน ด้วยความที่ด้อยการศึกษาและขาดทักษะบริหารจัดการ
ไม่นานระบบเศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรืองของ ซิมบับเว ก็ดิ่งลงเหว เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย
สุดท้ายไม่วายเป็นหนี้ IMF

ในปี 2006 ปัญหาหนี้สินของประเทศ เกินเยียวยา
ผู้ว่าการธนาคารกลางในขณะนั้นเกิด ปิ๊งไอเดีย (ง่ายๆแต่ไม่ฉลาด) ในการใช้หนี้คืน นั่นก็คือ “การพิมพ์เงิน” (คุ้นๆมั๊ยครับ?)

สกุลเงิน ซิมบับเวียนดอลล่าห์ (Zimbabwean Dollar : ZWD) มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ
1.59 Zim-Dollar แลกได้ 1 US-Dollar

ในเมื่อประเทศเราเป็นหนี้ IMF ในสกุลเงินดอลล่าห์ เราก็แค่ พิมพ์เงินประเทศเราเอาไปซื้อดอลล่าห์
เสร็จแล้วก็ เอาไปใช้หนี้คืน ง่ายๆ ไม่น่าจะมีอะไรยาก

16 กพ 2006 : ธนาคารกลางซิมบับเว จึงจัดพิมพ์เงินครั้งใหญ่
มูลค่า 21 Trillion (21,000,000,000,000 ZWD) เพื่อสะสางปัญหา

ได้ผล ! หนี้หายวับไปกับตา แต่ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า “โหดร้ายมากกว่าเป็นหนี้หลายเท่าตัว”

เงิน 21T ออกไปเที่ยว ตปท ได้ไม่นานก็หมุนเวียนกลับเข้ามาในระบบศก.ของซิมบับเวเอง
สกุลเงิน ZWD ลดค่าลงอย่างรวดเร็ว ตามหลัก supply demand ( เนื่องจากมีแต่เงินเต็มไปหมดทั่วทุกหนแห่ง…อะไรที่หาได้ง่ายมากเกินก็ย่อมไร้ค่า เมื่อมีกระดาษเงินเยอะมากเกิน ค่าของมันก็ลดน้อยลง เรียกว่าคนไม่ค่อยเห็นค่าของกระดาษเงิน เหมือนลำไยล้นตลาด ราคาก็ตก ฉันใดฉันนั้น) พอตัวเงินด้อยค่า สินค้าทุกอย่างต้องปรับขึ้นราคาตามในทันที (ก็เป็นไปตามหลัก supply demand อีกเช่นเคย) ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เดิมข้าวหนึ่งจาน แม่ค้าซิมบับเวยินดีรับแลกด้วยเงินกระดาษหนึ่งใบ แต่ต่อมาเธอรู้สึกว่ากระดาษหนึ่งใบไม่คุ้มกับข้าวหนึ่งจานของเธอเสียแล้ว เธอต้องการสองใบ สามใบ เพราะความที่ค่าของมันด้อยลงเพราะมีกระดาษธนบัตรอยู่เต็มประเทศไปหมด เธอจะเอาเงินกระดาษหนึ่งใบไปซื้อองอย่างอื่นก็ซื้อได้ยากขึ้นเพราะคนอื่นก็เห็นค่าน้อยลงเหมือนกัน

เดือดร้อนถึง นายกโรเบิร์ต มูกาเบ้ ที่ต้องรีบสั่งการให้ ธนาคารกลางแก้ไข ปัญหาโดยด่วน
ซึ่งแน่นอน อาวุธคู่กายธนาคารกลางทุกประเทศมีแค่ สองอย่าง แต่สำหรับ ซิมบับเว

พิมพ์ พิมพ์ พิมพ์ และ ก็พิมพ์ คือ คำตอบสุดท้าย ที่จะทำให้ประชาชนมีกระดาษเงินในมือเยอะขึ้น (และสามารถซื้อข้าวได้หนึ่งจานเท่าเดิม)

ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ปริมาณเงินอีก 60T ! ถูกอัดฉีดเข้าระบบ
วัตถุประสงค์ก็เพื่อจ่ายเพิ่มเป็นเงินเดือนให้กับบรรดา ทหาร ตำรวจและข้าราชการ เพราะข้าวของแพงเหลือเกิน

แต่กลับยิ่งทำให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงเข้าไปอีก
เพื่อเป็นการยับยั้งและจัดระเบียบกันใหม่ ให้เงินสกุล ZWD ยังคงดูน่าเชื่อถือต่อไป

สิงหาคมในปีนั้น ธนาคารกลางตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบ ธนบัตรใหม่ทั้งหมด
โดยขอร้องให้ประชาชนนำ ธนบัตรรุ่นเดิมมาแลก

แต่ภายใต้ข้อแม้ว่า 1000 ZWD เก่า แลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่ (ตัด 0 ออกสามตัว)

หากคุณมีเงินฝากในธนาคาร 1 ล้าน วันรุ่งขึ้นยอดเงินฝากจะลดลงเหลือเพียง 1 พัน เท่านั้น !!
ทำกันถึงขนาดนั้น แต่ปัญหาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทา …… (เรื่องยังไม่จบเพียงเท่านี้ครับ…มาตามกันต่อในตอนที่ ๓ ครับ)