ทำไมอเมริกาถึงพิมพ์ดอลล่าได้เอง (ตอนที่ 1)

ที่มา: http://www.klongjan.com/fr/view.php?id=92 และอ้างถึง Thaigold.info

dollar-roll
คราวนี้ขอพาออกนอกเรื่องบ้านๆ ไปหน่อยครับเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ดี พอดีผมได้แวะไปอ่านจากหลายเวบข้างต้นนี้ครับ เห็นว่าคนเขียนเขาเขียนไว้เข้าใจง่ายและเป็นความรู้ดี ผมเอามาแต่งเติมอีกนิดหน่อยเผื่อให้ชาวบ้านเข้าใจและติดตามง่ายขึ้น ก็เลยหยิบมาเป็นบล๊อกไว้แบ่งปันกันครับ

การจะเข้าใจว่าทำไมอเมริกาถึงสามารถพิมพ์ดอลล่าได้เองโดยไม่ต้องมีทุนสำรองเป็นทองคำ เราต้องทำความเข้าใจก่อนครับว่า ทำไมเราต้องพิมพ์ธนบัตร และการพิมพ์ธนบัตรขึ้นมาเองโดยไม่มีอะไรมารองรับค่าของมัน (เช่นทองคำ) จะมีผลที่เลวร้ายตามมาอย่างไรครับ

ทำไมต้องพิมพ์ธนบัตรนะหรือครับ ลองคิดตามแบบง่ายๆ อย่างนี้แล้วกันครับ ในสมัยโบราณ มนุษย์ซื้อขายของกันโดยการนำสินค้ามาแลกเปลี่ยนกันตามความพอใจของทั้งสองฝ่าย เช่นเอาข้าว 1 ถังไปแลกวัว 1 ตัว แต่ปัญหามันก็เกิดตรงที่ว่าถ้าฉันมีข้าวแค่ครึ่งถังแต่ยังอยากกินเนื้อวัว…แล้วจะทำยังงัย

มนุษย์ก็เลยคิดประดิษฐ์ของมีค่าเช่นเบี้ยอัฐหรือทองคำขึ้นมาเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ทีนี้ก็หมดปัญหาเรื่องที่ว่าถ้ามีข้าวอยู่ครึ่งถัง แต่ปัญหามันก็ยังไม่จบ เพราะมนุษย์ก็เกิดอาการขี้เกียจแบกทองคำหนักๆ เดินข้ามหมู่บ้านเพื่อไปซื้อวัว ด้วยกิเลสที่มีอยู่ก็ผลักดันให้มนุษย์คิดประดิษฐ์ธนบัตรขึ้นมาแทนทองคำเพื่อความสะดวกในการพกพาและแลกเปลี่ยน ที่นี้ก็เบาสมใจครับแต่…ถ้าบ้านไหนหรือประเทศใดอยู่จะต้องการพิมพ์ธนบัตรหรือพิมพ์กระดาษเปื้อนสีที่ว่านี้ออกมาแทนค่าทองคำ แสดงว่าประเทศนั้นก็จะต้องมีทองคำมาสำรองไว้แทนกระดาษที่พิมพ์ออกมา และก็จะต้องกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนให้ชัดเจนครับ เช่น สมมุติว่าถ้ากำหนดค่าทองคำหนึ่งออนซ์เท่ากับ 1,000 บาท และถ้าเรามีทองอยู่ 1 ออนซ์ เราก็ต้องพิมพ์ธนบัตรออกมาแค่ 1,000 บาทตามนั้น เพื่อที่ธนบัตรจะได้แทนค่าที่แท้จริงของทองคำ ถ้าพิมพ์ธนบัตรออกมาอีก 1,000 บาท โดยไม่มีทองคำหนุนหลัง มูลค่าของธนบัตรก็เสื่อมค่าลง ยิ่งพิมพ์ออกมามาก ธนบัตรก็ยิ่งเสื่อมค่าและกลายเป็นเศษกระดาษที่เปื้อนสีดีๆนี่เองครับ

แล้วทำไมมันถึงเสื่อมค่ากลายเป็นแค่เศษกระดาษเปื้อนสีไปได้ละครับ…ถ้าอยากรู้ต้องมาตามต่อกับนิยายมหากาพย์ที่ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนไหนไม่รู้จัก…นั้นก็คือเรื่องของ ” ซิมบับเว” ครับ

ไม่มีที่ไหนในโลก เหมือน “ซิมบับเว” (Zimbabwe)

ไม่ใช่เพราะมีน้ำตก วิคตอเรีย อันสวยงาม ไม่ใช่เพราะมีเหมืองขุดเพชร ขนาดใหญ่

หรือเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่ที่นี่ชาวซิมบับเว

ทุกคนคือ “เศรษฐีพันล้าน” (Billionaire)

ย้อนกลับไป 5 ปีก่อน ประเทศนี้ก็ไม่ได้ต่างจากประเทศอื่นๆทั่วไป หากแต่การบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดความเข้าใจ ของผู้นำรัฐบาล กลับสร้างหายนะอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนทุกคน ชนิดที่โลกต้องจารึกไว้เป็นอีกบทนึงของประวัติศาสตร์การเงินโลกกันเลยทีเดียว

ประชากรชาว ซิมบับเว มีทั้ง “คนผิวขาวและคนผิวดำ” อาศัยอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา คนผิวขาวที่ย้ายมาตั้งรกราก เป็นเจ้าของที่ดินและฟาร์มเกษตร ส่วนคนผิวดำ เป็นชนชั้นแรงงาน

คนขาว รับหน้าที่ เป็นผู้บริหารชั้นดี

ส่วนคนดำเป็นแรงงานมีฝีมือ

ทุกอย่างลงตัว …….

จนกระทั่งช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี โรเบิร์ต มูกาเบ้ (Robert Mugabe) รัฐบาลออกกฎหมาย ใหม่ปฎิวัติการจัดการที่ดินทำกิน (Land Reform) เนื้อหาสำคัญก็คือ ช่วยคนผิวดำซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ให้มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตกเป็นลูกจ้างของคนผิวขาวอีกต่อไป

เกิดการยึดคืนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธ์ของคนผิวขาวแล้วเอาไปแจก ให้กับคนผิวดำ

……เท่านั้นเองปัญหาเกิด (มาตามกันต่อในตอน ๒ กันต่อครับ)